analyticstracking
หัวข้อ   “ ช้อปช่วยชาติ กับพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชน
           ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 มีพฤติกรรมซื้อสินค้าและบริการเท่าเดิมถึงแม้ว่าช่วงนี้รัฐบาล
จะออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ”โดยร้อยละ 52.9 ระบุว่าต้องการให้รัฐดูแลห้างร้านที่เข้าร่วมโครงการ
ไม่ให้ขายสินค้าราคาแพงกว่าช่วงปกติ
           ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 55.0 ระบุว่า มาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ใน
ระดับ “ปานกลาง”และร้อยละ 52.6 อยากให้ขยายเวลาจนถึงสิ้นปีขณะที่ร้อยละ 48.3 ยังคงมองว่าผู้ที่
ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากมาตรการนี้คือ เอกชน/ห้าง/ร้าน/ที่จำหน่ายสินค้าและบริการ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 จากที่รัฐบาลออกมาตรการ “ช้อปช่วยชาติ 2560” เมื่อซื้อสินค้าและบริการ
สามารถลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทระหว่างวันที่ 11
พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2560 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “ช้อปช่วยชาติกับพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชน”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,099 คน พบว่า
 
                 ในช่วงที่รัฐบาลออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.5 ระบุว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการเท่าเดิมเหมือน
ช่วงปกติ
รองลงมาร้อยละ 14.7 ระบุว่าทำให้ซื้อสินค้าและบริการปริมาณมากขึ้น และ
ร้อยละ 10.7 ระบุว่า ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นใหญ่และมีราคาสูงง่ายขึ้นเช่นเครื่องใช้
ไฟฟ้า/สมาร์ทโฟน/โน้ตบุค
 
                 ส่วนเรื่องที่ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลสำหรับห้างร้านที่เข้าร่วม
โครงการ“ช้อปช่วยชาติ 2560 ”ประชาชนร้อยละ 52.9 ระบุว่า ต้องการให้ดูเรื่อง
สินค้าไม่ให้มีราคาแพงกว่าช่วงเวลาปกติ
รองลงมาร้อยละ 27.3 ระบุว่า เรื่องนำสินค้า
หมดอายุ/ตกรุ่นมาขาย และร้อยละ 10.1 ระบุว่า เรื่องการจำกัดปริมาณการซื้อ
 
                  ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 55.0 มีความเห็นว่า มาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” ช่วยกระตุ้น
เศรษฐกิจได้ในระดับ “ปานกลาง”
รองลงมาร้อยละ 24.0 ระบุว่า ช่วยได้ในระดับ “มากถึงมากที่สุด” และร้อยละ 21.0 ระบุว่า ช่วยได้ในระดับ “น้อยถึงน้อยที่สุด”
 
                 สำหรับความเห็นต่อช่วงเวลาของมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ52.6
ระบุว่า ควรขยายเวลาจนถึงสิ้นปี
รองลงมาร้อยละ 33.6 ระบุว่า ควรจัดช่วงใกล้สิ้นปีเหมือนปีที่ผ่านมา (1-2 สัปดาห์ก่อนสิ้นปี)
และร้อยละ 13.8 ระบุว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมดีแล้ว
 
                 เมื่อถามถึงนโยบายช้อปช่วยชาติว่าควรเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีแบบใด ประชาชน
ร้อยละ 47.6 ระบุว่า ควรจัดเป็นมาตรการแบบปีต่อปีแบบนี้ดีแล้วเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนั้นๆ
รองลงมาร้อยละ 46.7
ระบุว่า ควรออกเป็นมาตรการระยะยาว 5 ปี/ 10 ปีเพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่าย และร้อยละ 5.7 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่าการออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560”ใครได้ประโยชน์มากที่สุดประชาชน
ร้อยละ 48.3 ระบุว่า เอกชน/ห้าง/ร้าน/ที่จำหน่ายสินค้าและบริการ
รองลงมาร้อยละ 27.6 ระบุว่าประชาชนที่มีรายได้
ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี และร้อยละ 20.1 ระบุว่า รัฐบาล
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. มาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” กระตุ้นพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของอย่างไร

 
ร้อยละ
ซื้อเหมือนช่วงปกติ/ซื้อเท่าเดิมไม่เปลี่ยน
64.5
ทำให้ซื้อสินค้าและบริการปริมาณมากขึ้นกว่าช่วงปกติ
14.7
ทำให้ตัดสินใจซื้อสินค้าชิ้นใหญ่/ราคาสูงง่ายขึ้น เช่น
เครื่องใช้ไฟฟ้า/สมาร์ทโฟน/โน้ตบุค ฯลฯ
10.7
ทำให้ซื้อสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็นมากขึ้น
10.1
 
 
             2. ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องใดสำหรับห้างร้านที่เข้าร่วมโครงการ“ช้อปช่วยชาติ 2560 ”

 
ร้อยละ
สินค้าไม่ให้มีราคาแพงกว่าช่วงเวลาปกติ
52.9
การนำสินค้าหมดอายุ/ตกรุ่นมาขาย
27.3
จำกัดปริมาณการซื้อต่อวัน/ต่อคน
10.1
สินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ
9.7
 
 
             3.มาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” จะกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี 2560 ได้มากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
24.0
ปานกลาง
55.0
น้อยถึงน้อยที่สุด
21.0
 
 
             4.ความเห็นต่อช่วงเวลาของมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560” ที่จัดตั้งแต่
                  วันที่ 11 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2560

 
ร้อยละ
ควรขยายเวลาจนถึงสิ้นปี
52.6
ควรจัดช่วงใกล้สิ้นปีเหมือนปีที่ผ่านมา(1-2 สัปดาห์ก่อนสิ้นปี)
33.6
เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมดีแล้ว
13.8
 
 
             5. นโยบายช้อปช่วยชาติควรเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งท้ายปีแบบใด

 
ร้อยละ
แบบปีต่อปีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนั้นๆ
47.6
เป็นแบบระยะยาว 5 ปี 10 ปีเพื่อประชาชนจะได้วางแผนการใช้จ่าย
46.7
ไม่แน่ใจ
5.7
 
 
             6. การออกมาตรการ“ช้อปช่วยชาติ 2560”ใครได้ประโยชน์มากที่สุด

 
ร้อยละ
เอกชน/ห้าง/ร้าน/ที่จำหน่ายสินค้าและบริการ
48.3
ประชาชนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี
27.6
รัฐบาล
20.1
อื่นๆ อาทิ ได้ประโยชน์ร่วมกันในภาพรวม
4.0
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการการออกมาตรการ “ช้อปช่วยชาติ 2560”
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ของรัฐบาล ในเรื่องพฤติกรรมการซื้อสินค้า ความเหมาะสมของช่วงเวลาและ
ผลที่ได้รับจากการออกมาตรการ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วง
น้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 22-24 พฤศจิกายน 2560
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 พฤศจิกายน 2560
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
539
49.0
             หญิง
560
51.0
รวม
1,099
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
121
11.0
             31 – 40 ปี
253
23.0
             41 – 50 ปี
311
28.3
             51 – 60 ปี
276
25.1
             61 ปีขึ้นไป
138
12.6
รวม
1,099
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
651
59.2
             ปริญญาตรี
359
32.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
89
8.1
รวม
1,099
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
167
15.2
             ลูกจ้างเอกชน
279
25.4
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
427
38.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
53
4.8
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
135
12.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
29
2.6
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
9
0.8
รวม
1,099
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776